คนเราเมื่อมีอายุมากขึ้น หลาย ๆ ท่านมักจะพบว่าตนเองมีความคิดอ่านช้าลง ใช้เวลาในการตัดสินใจนานขึ้น หลงลืมง่ายขึ้น เช่น จำไม่ได้ว่าวางแว่นตาไว้ที่ไหน ลืมกุญแจไว้ในรถบ่อย ๆ หรือนัดเพื่อนไว้แล้วลืมไปตามนัดเลยก็มี ทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้อาจก่อให้เกิดความกังวลใจว่าเป็นเพียงอาการหลงลืมตามวัยที่เพิ่มขึ้นหรือว่าท่านได้ป่วยเป็นโรคสมองเสื่อมไปเสียแล้ว เพื่อตอบปัญหาดังกล่าวเรามาทำความรู้จักกับโรคสมองเสื่อม(Alzheimer) ว่าเป็นอย่างไรและจะมีวิธีป้องกันได้อย่างไร ลองมาอ่านบทความนี้กันค่ะ
โรคสมองเสื่อม (Alzheimer) คือ ภาวะที่ประสิทธิภาพการทำงานของสมองเสื่อมลงอย่างต่อเนื่องเป็นระยะ ๆ โดยเฉพาะด้านความจำเป็นหลักร่วมกับสูญเสียความสามารถด้านอื่น ๆ ของสมองด้วย เช่น สมาธิ ความสามารถในการคำนวณ ความสามารถในการเรียนรู้ การวางแผน การเรียงลำดับความสำคัญ การใช้เหตุผล การตัดสินใจ ความสามารถในการใช้ภาษา การควบคุมอารมณ์ เป็นต้น อาจพบการเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์ พฤติกรรม และบุคลิกภาพในผู้ป่วยสมองเสื่อมได้เช่นกัน ซึ่งอาการทั้งหลายเหล่านี้มักจะส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดปัญหาในการดำรงชีวิตประจำวันได้ โดยในขณะที่เกิดภาวะสมองเสื่อมนี้ผู้ป่วยจะยังมีสติและรู้สึกตัวดีอยู่ (good consciousness)
มีแบบทดสอบใดช่วยคัดกรองภาวะสมองเสื่อม(Alzheimer)หรือไม่?
ปัจจุบันมีแบบคัดกรองผู้ที่มีภาวะเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์จากญาติหรือผู้ดูแลซึ่งพัฒนาโดยนันทิกา ทวิชาชาติ และณภัทร อังคะสุวพลา ดังรายละเอียดต่อไปนี้
คนปกติ คะแนนรวม < 4 คะแนน
ผู้ที่อยู่ในข่ายสงสัยมีภาวะสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์ คะแนนรวม > 4 คะแนนคนปกติ คะแนนรวม < 4 คะแนน
วิธีต่างๆ ที่เชื่อว่าอาจป้องกันโรคอัลไซเมอร์(Alzheimer) ได้ ได้แก่
- การรับประทานอาหารบางชนิดเป็นประจำ เช่น ผักและผลไม้สด ธัญพืชต่างๆ น้ำมันมะกอก ปลา ไวน์แดง รวมไปถึงอาหารที่มีวิตามินบี 12 วิตามินซี และกรดโฟลิกสูง อาจช่วยลดโอกาสเกิดโรคลงได้ แต่ก็ควรพิจารณาด้วยว่าท่านมีโรคร่วมอื่น ๆ ที่ต้องห้ามรับประทานอาหารประเภทนี้หรือไม่
- หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง อาหารเค็มจัด หวานจัด อาหารจานด่วนต่างๆ เพราะเป็นอาหารที่ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน ซึ่งโรคเหล่านี้เป็นปัจจัยเสี่ยงอย่างหนึ่งต่อการป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์
- หมั่นออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อลดโอกาสการเป็นโรคไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานทำให้เลือดไหลเวียนดี เพิ่มออกซิเจนไปเลี้ยงสมอง รวมไปถึงการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ จัดการกับความเครียด เช่น การนั่งสมาธิ
- การทำกิจกรรมที่ให้สมองได้ฝึกคิดเป็นประจำ เช่น อ่านหนังสือ เล่นหมากกระดาน เล่นปริศนาอักษรไขว้ รวมถึงการได้ลองทำกิจกรรมใหม่ๆที่ไม่เคยทำมาก่อน เช่น การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ใหม่ๆ การฝึกเล่นดนตรี ทำงานประดิษฐ์ การมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมเป็นประจำ เช่น การจัดกลุ่มพูดคุยอภิปรายเรื่องราวต่างๆ นอกจากนี้พบว่า การที่พูดได้มากกว่า 1 ภาษาขึ้นไปจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้เช่นกัน
นอกจากนี้มีวิธีการป้องกันสมองเสื่อม โดยท่าการบริหารสมองเป็น 2 เท่ากัน ลองมาดูคลิปกันเลยค่ะ ^ ^
ควรพบแพทย์เมื่อไหร่
ผู้สูงอายุที่มีอาการหลงลืมเล็ก ๆ น้อย ๆ เป็นประจำ ควรได้รับการทดสอบทางสมองและสภาพจิต เพื่อประเมินว่ามีอาการของความจำเสื่อมแล้วหรือไม่ และเพื่อจะได้หาสาเหตุต่อไปว่าเกิดจากโรคใด หากเป็นโรคที่รักษาได้จะได้รีบรักษา หากป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ ผู้ใกล้ชิดก็จะได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับโรคและการดูแลผู้ป่วยต่อไป
สิ่งสำคัญสำหรับครอบครัวที่มีบุคคลในบ้านเป็นโรคสมองเสื่อม ความเข้าใจ การให้เวลาและความเอาใจใส่จาำกผู้ดูแลหรือบุคคลในบ้านเป็นสิ่ิงสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ายารักษา เลยหล่ะค่ะ
โปรดอย่าลืม !!! ความเข้าใจ ให้เวลา แลเอาใจใส่ ปฏิเสธไม่ได้ในการดูแลรักษาผู้ป่วยสมองเสื่อมนะคะ ^-^
Thank ;
-http://www.si.mahidol.ac.th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น