เว็บหนัง พร้อมสาระและความบันเทิงครบครัน
เว็บที่ให้ได้ มากกว่าที่คุณคิด
เว็บอาจโดนบล็อค โปรดกด Like Fanpage เพื่อติดตามที่อยู่เว็บ
ขณะนี้เว็บกำลังปรับปรุง ขออภัยท่านผู้เข้าชม ในความไม่เป็นระเบียบของรูปแบบเว็บด้วยนะคะ ^ ^

ค้นหาส่ิ่งที่คุณสนใจได้เลยจ้า

เพลงแนะนำ ตามกระแส


วันเสาร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2556

หลีก+กิน+อยู่ อย่างไรกับเ้จ้ามะเร็งวัยร้าย

หากจะกล่าวถึงมะเร็งคงไม่มีใครที่ไม่รู้จักเจ้ามะเร็ง วัยร้ายนี้อย่างแน่นอน แล้วเราจะหลีกเลี่ยงเจ้าวัยร้ายตัวนี้อย่างไร ต้องรับประทานอาหารอย่างไร เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคมะเร็ง หรือหากเป็นโรคนี้แล้วควรรับประทานอาหารและมีข้อควรปฏิบัติตัวอย่างไร เพื่อป้องกันอาการข้างเคียงจากการรักษาและให้เหมาะสมกับโรคที่เป็นอยู่ วันนี้เราเกร็ดความรู้เรื่องนี้มาฝากกันค่ะ 






อาหารบางชนิดอาจมีผลต่อการเกิดหรืออาจป้องกันการเกิดโรคมะเร็งได้บ้าง เช่น
  • อาหารที่มีสารไฮโดรคาร์บอน ที่เกิดจากการเผาไหม้ปิ้ง ย่าง จนเกรียม อาหารที่มีส่วนผสมของไนไตรทจากสารรักษาสภาพอาหารที่ไม่ถูกต้อง อาหารหมักดอง และอาหารที่มีความชื้นและมีเชื้อราปนเปื้อน ทำให้มีโอกาสเกิดมะเร็งมากกว่าอาหารอื่น 
  • อาหารประเภทเนื้อสัตว์ที่ปรุงโดยการทอดหรือผัดซึ่งมีไขมันสูงจนทำให้เกิดโรคอ้วน อาจเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งสูงขึ้น ในทางตรงกันข้าม มีทฤษฎีว่าโรคมะเร็งอาจเกิดจากผลของสารอนุมูลอิสระ (oxygen free radical) ซึ่งเกิดจากปฏิกิริยาของการเผาผลาญอาหาร ถ้ามีอนุมูลอิสระนี้มากเกินไป เซลปกติอาจกลายพันธุ์เป็นเซลมะเร็งได้ 
  • ส่วนสารต้านอนุมูลอิสระที่เรียกว่า antioxidant พบมากในผักและผลไม้บางชนิด เช่น ชาเขียว ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เป็นต้น จะช่วยต้านผลของสารอนุมูลอิสระ ซึ่งอาจช่วยลดโอกาสเป็นมะเร็งได้ระดับหนึ่ง การทานเนื้อสัตว์ ประเภทเนื้อแดง ไขมันสูง ให้พอเหมาะ ทานปลามากขึ้น เน้นผักผลไม้ให้มากขึ้น อาหารประเภทกากใย เช่น ผักผลไม้บางชนิด ซึ่งมีบทบาทในการกำจัดอนุมูลอิสระ อาจช่วยลดโอกาสการเป็นมะเร็งได้

อย่างไรก็ตาม อาหารชนิดใดชนิดหนึ่งไม่มีอิทธิพลมากพอที่จะทำให้ผู้บริโภคเกิดมะเร็งโดยตรง แต่น่าจะเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการก่อโรคมะเร็ง ดังนั้น อาหารเพื่อต่อต้านการเกิดมะเร็งจึงควรเป็นอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วน ไม่ใช่เลือกที่จะบริโภคหรือไม่บริโภคอาหารชนิดใดชนิดหนึ่ง และเป็นอาหารที่มีความสะอาด เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ

สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งอยู่แล้ว ความต้องการอาหารจะแตกต่างจากคนปกติ เพราะผู้ป่วยมะเร็งต้องได้รับการรักษาด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การผ่าตัด การฉายรังสี การรับยาเคมีบำบัด ซึ่งต้องการสารอาหารเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ เพื่อซ่อมแซมเซลปกติ และช่วยให้ร่างกายสามารถรับการรักษาได้ครบถ้วนตามแผนที่แพทย์ได้วางไว้ 

นอกจากนี้ โรคมะเร็งหรือวิธีการรักษาอาจมีผลทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น อาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย เบื่ออาหาร แผลอักเสบเยื่อบุช่องปากหรือหลอดอาหาร ทำให้ผู้ป่วยมะเร็งมีแนวโน้มที่จะขาดสารอาหารและมีน้ำหนักตัวลดลง ดังนั้น ควรพยายามรักษาน้ำหนักตัวให้คงที่ในระหว่างการรักษา ด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และมีสารอาหารครบถ้วนตามความต้องการของร่างกาย นอกจากนี้ สิ่งที่สำคัญมากคือ อาหารต้องสุกและสะอาด ในขณะที่มีภาวะเม็ดโลหิตขาวต่ำหรือมีภูมิคุ้มกันต่ำ ต้องหลีกเลี่ยงอาหารไม่สุก เช่น หอยนางรม กุ้งเต้น ปลาดิบ



ผลข้างเคียงจากการรักษาโรคมะเร็งไม่ได้เกิดกับผู้ป่วยทุกราย อาการต่าง ๆ สามารถควบคุมด้วยยาได้ค่อนข้างดีในปัจจุบัน และอาการส่วนมากมักหายไปหลังหยุดการรักษา

แต่หากผู้ป่วยเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการรักษาโรคมะเร็ง มีข้อควรปฏิบัติตัว ดังนี้

เบื่ออาหาร มีข้อควรปฏิบัติดังนี้

- ลองรับประทานอาหารเหลว หรืออาหารผงสำเร็จรูป

- ลองรับประทานอาหารมื้อละน้อยๆ แต่บ่อย ๆ

- ถ้าไม่อยากรับประทานอาหารหรือข้าว อาจลองรับประทานอาหารเหลว เช่น ซุป น้ำผลไม้ หรือ นม เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหาร และพลังงานที่เพียงพอ

- ลองแปรรูปอาหารบางชนิด เช่น ผลไม้สด อาจทำเป็น น้ำผลไม้ปั่นผสมนม เป็นต้น

- ลองอาหารที่อ่อนๆ หรือ อาหารที่เย็นๆ เช่น โยเกิรต์ นมปั่น

- ถ้าเริ่มรับประทานอาหารได้ดี ควรเพิ่มปริมาณของอาหารให้แต่ละมื้อ

- ผู้ป่วยส่วนมากรู้สึกอยากรับประทานอาหารในช่วงเช้าดีกว่าช่วงอื่น

-การดื่มน้ำขณะรับประทานอาหารจะทำให้รู้สึกอิ่มเร็วขึ้น ดังนั้น อาจดื่มน้ำก่อนหรือหลังรับประทานอาหาร 30-60นาที

เจ็บในช่องปาก และลำคอ

อาการเจ็บที่ปาก เหงือก และ ในคอ มักเกิดจากการฉายรังสี การให้เคมีบำบัด หรือ การติดเชื้อ ควรให้ทันตแพทย์ตรวจ ว่ามีโรคที่ฟันและเหงือก หรือไม่ ก่อนนึกถึงว่าอาการเจ็บเกิดจากการรักษามะเร็ง ยาบางชนิดอาจช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดได้ มีข้อควรปฏิบัติดังนี้

- รับประทานอาหารที่อ่อนเคี้ยวกลืนง่าย เช่น นมปั่น กล้วย แตงโม โยเกิร์ต ผักต้มสุก มันฝรั่งบด เป็นต้น

- หลีกเลี่ยงอาหาร หรือของเหลวที่ระคายเคืองช่องปาก เช่น ส้ม มะนาว รสเผ็ดจัด เค็มจัด ผักที่ไม่ได้ทำให้สุก หรือน้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของ แอลกอลฮอล์ รวมถึงอาหารที่ร้อนจัด

- ปรุงอาหารให้สุก นิ่ม

- ดื่มน้ำ หรือของเหลว จากหลอด

- ใช้ช้อนขนาดเล็กกว่าปกติ

- ลองรับประทานอาหารที่มีความเย็น หรือ อุณหภูมิห้อง

- ลองอมน้ำแข็ง

- บ้วนปากบ่อยๆด้วยน้ำเปล่า เพื่อกำจัดเศษอาหาร

- แพทย์อาจสั่งน้ำยาบ้วนปาก หรือ ยาชาเฉพาะที่ ตามความเหมาะสม

ปากแห้ง การให้เคมีบำบัด และรังสีรักษา บริเวณ ศีรษะ และคอ จะทำให้น้ำลายลดลง ส่งผลให้ผู้ป่วยปากแห้งได้ ช่องปากที่แห้ง อาจทำให้การรับรสของผู้ป่วยเปลี่ยนไป มีข้อควรปฏิบัติดังนี้

- จิบน้ำบ่อยๆ เพื่อให้กลืนหรือ พูดคุย ได้ง่ายขึ้น

- ลองรับประทานอาหารว่างที่มีรสหวานหรือ รสเปรี้ยวเพื่อเพิ่มการหลั่งน้ำลาย (ไม่ควรให้ในผู้ป่วยที่มีแผลบริเวณช่องปาก)

- อมลูกอมแข็งๆ จะช่วยเพิ่มปริมาณน้ำลาย

- รับประทานอาหารอ่อนที่กลืนง่าย

- ทาริมฝีปากด้วยขี้ผึ้ง กรณีริมฝีปากแห้ง

- ถ้าช่องปากแห้งมาก แพทย์อาจสั่งน้ำลายเทียมให้

คลื่นไส้ เป็นปัญหาที่พบบ่อยที่เกิดจากการผ่าตัด เคมีบำบัด รังสีรักษา และการรักษาโดยใช้ชีวโมเลกุล อาการคลื่นไส้อาจเกิดได้จากตัวของโรคมะเร็งเอง หรือเกิดจากผลข้างเคียงจากการรักษา

หลังจากได้รับการรักษา ผู้ป่วยอาจมีอาการคลื่นไส้หรืออาเจียนทันที ในขณะที่ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการคลื่นไส้หลังได้รับการรักษาสองถึงสามวันหรือหรืออาจไม่พบอาการคลื่นไส้เลย ข้อควรปฏิบัติ ดังนี้ 

- ผู้ป่วยอาจปรึกษาแพทย์เพื่อขอยาแก้อาเจียน

- รับประทานอาหารที่ย่อยง่าย เช่น ขนมปัง โยเกิร์ต ข้าวต้ม ไก่อบ ผัก ผลไม้ น้ำสะอาด น้ำอัดลม เป็นต้น

- หลีกเลี่ยงอาหารที่มันจัด ของทอด ของหวาน เช่น ลูกอม คุกกี้ หรือ เค้ก อาหารรสจัด อาหารที่มีกลิ่นฉุน

- รับประทานอาหารปริมาณน้อยๆ แต่บ่อย และช้าๆ รับประทานก่อนที่จะหิวเพราะอาการหิวทำให้คลื่นไส้มากขึ้น

- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารในที่มีคนพลุกพล่าน หรือมีกลิ่นอาหารรุนแรง

- ดื่มน้ำเล็กน้อยในขณะที่รับประทานอาหาร

- จิบน้ำอย่างช้าๆ ตลอดทั้งวัน

- รับประทานอาหารที่ไม่ร้อนจนเกินไป

- อย่าฝืนทานอาหารที่ตนเองชอบขณะมีอาการคลื่นไส้ เพราะอาจเป็นสาเหตุทำให้ไม่ชอบทานอาหารชนิดนี้อย่างถาวร

- นั่งพักประมาณครึ่งชั่วโมง หลังจากการรับประทานอาหาร

- สวมเสื้อผ้าหลวมๆ

- ถ้าพบอาการคลื่นไส้ในขณะที่ฉายรังสี หรือให้เคมีบำบัด ให้ผู้ป่วยงดอาหาร หนึ่งถึงสองชั่วโมงก่อนการรักษา

- ลองสังเกตด้วยตัวเองว่าอาการคลื่นไส้เกิดขึ้นจากสาเหตุใด (อาหาร สภาพแวดล้อม) จะได้หลีกเลี่ยงได้อย่างเหมาะสม

อาเจียน เป็นอาการต่อเนื่องจากอาการคลื่นไส้ ซึ่งอาจเกิดจากการรักษา กลิ่นอาหาร แก๊สในกระเพาะอาหารหรือลำไส้ หรือการเคลื่อนไหว อาการอาเจียนเกิดขึ้นในแต่ละบุคคลแตกต่างกัน
  • ถ้าอาการอาเจียนรุนแรงหรือติดต่อกันมากกว่าหนึ่งวัน ให้พบแพทย์เพื่อสั่งยาแก้อาเจียนให้
  • การออกกำลังกายเบา ๆ หรือการทานยาช่วยบรรเทาอาการได้ เมื่อเกิดอาการ ให้หายใจเข้าออกลึก ๆ
  • เมื่ออาเจียน ห้ามดื่มน้ำหรือทานอะไรจนกว่าจะหยุดอาเจียน
  • เมื่อหยุดอาเจียน ให้จิบของเหลวใส น้ำเปล่าหรือน้ำซุปใส เริ่มจากปริมาณ 1 ช้อนโต๊ะ ทุกๆ 10 นาที แล้วค่อยๆ เพิ่มเป็น 1 ช้อนโต๊ะทุก 20 นาที สุดท้ายเป็น 2 ช้อนโต๊ะทุก 30 นาที 
  • เมื่อผู้ป่วยสามารถกลืนน้ำเปล่าหรือซุปใสได้ ก็ให้ลองทานอาหารเหลวข้น หรืออาหารอ่อน เช่น น้ำผลไม้ น้ำผึ้ง ข้าวต้ม เป็นต้น พยายามทานอาหารอ่อน ๆปริมาณน้อย ๆ แต่บ่อยครั้งเท่าที่จะ
    ทำได้ เมื่อเริ่มรู้สึกดีขึ้น ก็ลองทานอาหารปกติได้
ท้องเสีย

  • ดื่มน้ำสะอาดหรือของเหลวเพื่อชดเชยน้ำที่ร่างกายสูญเสียไป
  • ทานอาหารครั้งละน้อยๆ ตลอดวัน แทนการทานปกติ 3 มื้อ
  • ทานอาหารและน้ำ ที่อุดมไปด้วย ธาตุโซเดียมและโพแทสเซียม เช่น เครื่องดื่มเกลือแร่ กล้วย เป็นต้น
  • อาหารที่ทานได้ ได้แก่  ข้าว ก๋วยเตี๋ยว มันฝรั่ง ไข่ต้ม ขนมปัง ไก่อบ เป็นต้น
  • อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ อาหารมัน ของทอด ผักดิบ บรอกโคลี่ ข้าวโพด ถั่ว กะหล่ำปลี ถั่วลันเตา ดอกกะหล่ำ อาหารและเครื่องดื่มที่ร้อนหรือเย็นเกินไป ชา กาแฟ ช็อกโกแลต
  • ถ้ามีอาการท้องเสียกะทันหัน ให้ดื่มแต่เครื่องดื่มเกลือแร่และน้ำ โดยงดทานอาหาร 12 ถึง 14 ชั่วโมง เพื่อให้ลำไส้ ได้พักและชดเชยเกลือแร่ที่ร่างกายสูญเสียไป
  • นมและผลิตภัณฑ์จากนมอาจทำให้อาการท้องเสียรุนแรงขึ้น

ท้องผูก ยาที่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง หรือยาบางชนิด เช่น ยาระงับความเจ็บปวด ยาแก้อาเจียน อาจเป็นสาเหตุทำให้ท้องผูกได้ ปัญหานี้อาจพบได้เมื่อบริโภคอาหารที่มีกากอาหารหรือเส้นใยไม่เพียงพอ หรือแม้แต่นอนอยู่บนเตียงเป็นเวลานาน มีข้อควรปฏิบัติ ดังนี้

- ควรดื่มน้ำปริมาณมาก อย่างน้อย 8 แก้วต่อวัน

- ปรึกษาแพทย์ว่าในกรณีของคุณสามารถเพิ่มการทานอาหารที่มีเส้นใยมากได้หรือไม่

- ออกกำลังกายเป็นประจำ

-ถ้าปฏิบัติตามคำแนะนำข้างต้นแล้วยังไม่ได้ผล ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการใช้ยารักษาอาการท้องผูก  เช่น มะขามแขก เป็นต้น หรือการออกกำลังกายที่เหมาะสม


คุณผู้อ่านน่าจะได้ความรู้คร่่าว ๆ จากการอ่านบทความนี้นะคะ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น หากท่านเป็นโรคมะเร็ง ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการรับประทานยา การรับประทานอาหาร และการปฏิบัติตัว ด้วยตัวท่านเอง เพื่อจะได้รับรู้รายละเอียดที่จำเพาะเจาะจงต่อตัวโรค และตัวผู้ป่วยแต่ละราย (บางท่านอาจมีโรคร่วมอื่น ๆ นอกเหนือจากเป็นโรคมะเร็งที่ต้องมีข้อควรปฏิบัติที่พิเศษกว่าคนที่ไม่มีโรคร่วม) น่าจะเป็นประโยชน์สูงสุดต่อตัึวผู้ป่วยเองนะคะ ^ ^
Thank ;
http://www.chulacancer.net (สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ฝ่ายรังสีวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์)
http://www.tsco.or.th (หน่วยมะเร็งวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น