เว็บหนัง พร้อมสาระและความบันเทิงครบครัน
เว็บที่ให้ได้ มากกว่าที่คุณคิด
เว็บอาจโดนบล็อค โปรดกด Like Fanpage เพื่อติดตามที่อยู่เว็บ
ขณะนี้เว็บกำลังปรับปรุง ขออภัยท่านผู้เข้าชม ในความไม่เป็นระเบียบของรูปแบบเว็บด้วยนะคะ ^ ^

ค้นหาส่ิ่งที่คุณสนใจได้เลยจ้า

เพลงแนะนำ ตามกระแส


วันอาทิตย์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2556

คำแนะนำการเลือกใช้ครีมกันแดด

แสงแดด แม้จะมีคุณอนันต์ต่อสิ่งมีชีวิต และมนุษย์บนโลก แต่ก็แฝงอยู่ด้วยอันตราย เมื่อร่างกายถูกแสงแดดปริมาณมากเกินไป อาจทำให้เรามีอาการวิงเวียน หน้ามืด เป็นลม หรือในเวลาที่สะสมรังสีนานกว่านั้น จะทำให้ผิวคล้ำ แดดเผา และบางราย อาจถึงกับผิวหนังอักเสบปวดแสบปวดร้อนหรือเป็นโรคมะเร็งที่บริเวณผิวหนังได้ ทางเว็บได้มีโอกาสได้อ่านบทความของท่านอาจารย์ รศ. ดร. พิมลพรรณ พิทยานุกุล ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เห็นว่า น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับหนุ่ม ๆ สาว ๆ หรือใครที่รักสุขภาพผิว จึงนำความรู้เกี่ยวกับ "การเลือกใช้ครีมกันแดด" มาฝากให้อ่านกันค่ะ....  ซื้อใช้ทั้งทีต้องได้ครีมกันแดดที่กันแดดได้จริงและคุ้่มค่ากับราคากันนะคะ








เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับอันตรายที่เกิดจากแสงแดดกันก่ิอนดีกว่า

รังสีที่ตาคนเรามองไม่เห็น คือ รังสียูวี ซึ่งเป็นตัวย่อของคำว่า รังสีอัลตราไวโอเลต นักวิทยาศาสตร์ สามารถแยกออก เป็นสามกลุ่มตามพลังงาน ได้แก่ UV-A, UV-B และ UV-C โดยที่ UV-C มีพลังงานสูงสุด รังสีชนิดนี้ จะถูกชั้นบรรยากาศของโลกกั้นไว้ ส่วนรังสี UV-A และ UV-B จะตกกระทบถึงพื้นโลก รังสียูวีมีอันตรายต่อคนเรามาก ในทางการแพทย์พบว่า เมื่อร่างกายได้รับรังสียูวีในปริมาณมาก จะเป็นผลทำลายดีเอนเอของเซลผิวหนัง ทำลายเลนส์และม่านตาทำให้เกิดต้อกระจกในตา และอาจเป็นบ่อเกิดมะเร็งผิวหนัง รังสี UV-A สามารถทะลุทะลวงลงสู่ผิวหนังชั้นล่างได้ ทำลายเนื้อเยื่อและดีเอนเอของเซลผิวอันเป็นสาเหตุให้ผิวหนังเหี่ยวย่น ส่วน UV-B นั้นสามารถทะลุถึงชั้นหนังกำพร้าเท่านั้น ดังนั้น อาการผิวไหม้จากแดดเผาจึงเกิดจากผลของรังสียูวีบี 


เราจะมีวิธีป้องกันอัีนตรายจากแสงแดดและเลือกครีมกันแดดให้เหมาะสมได้อย่างไร ????

ข้อมูลจากต่างประเทศ พบว่า ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับการป้องกันอันตรายจากรังสีดวงอาทิตย์มาก มีสถิติค่อนข้างสูงในการใช้ครีมกันแดดเป็นประจำทุกวัน วัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการเกิดริ้วรอยก่อนวัยสูงถึงร้อยละ 50 ในสหรัฐอเมริกา และร้อยละ 35 ในยุโรป ส่วนผู้ที่ใช้ครีมกันแดดเป็นประจำทุกวันเพื่อป้องกันมะเร็งผิวหนังสูงถึงร้อยละ 80  สำหรับประชากรในสหรัฐอเมริกา และเฉลี่ยประมาณร้อยละ 50 สำหรับในยุโรป
          
ในปี 2555 ตั้งแต่เดือนมิถุนายนนี้เป็นต้นไปนั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาได้ออกข้อกำหนดสำหรับฉลากของครีมกันแดดที่จำหน่ายในท้องตลาด หากต้องการโฆษณาว่าสามารถป้องกันความเสี่ยงจากมะเร็งผิวหนังหรือป้องกันการเกิดริ้วรอยก่อนวัยต้องมีค่า SPF 15 หรือสูงกว่า และหากโฆษณาว่าสามารถกันน้ำได้ (water resistant) ต้องระบุให้ชัดเจนบนฉลากว่ากันน้ำได้ 40 หรือ 80 นาที ซึ่งหมายถึง ความถี่ที่ผู้บริโภคต้องทาครีมกันแดดซ้ำทุกทุก 40 หรือ 80 นาทีเมื่อลงว่ายน้ำหรือสำหรับผู้ที่เหงื่อออกง่ายหรือสำหรับผู้ที่ออกกำลังกายและมีเหงื่อออกมากซึ่งจำเป็นต้องทาครีมกันแดดซ้ำเป็นระยะ 

ส่วนนิตยาสารดังคือ Readers Digest แนะนำให้ผู้บริโภคทาครีมกันแดดเป็นประจำหรือให้บ่อยที่สุดเพื่อป้องกันอันตรายจากรังสีดวงอาทิตย์และแนะนำให้ใช้ครีมกันแดดที่มีค่า SPF 30 หรือสูงกว่า แนะนำให้ผู้ที่มีผิวแพ้ง่ายให้เลือกใช้ครีมกันแดดที่ปราศจากน้ำหอมและปราศจากการเติมแต่งสี พร้อมทั้งแนะนำให้เลือกใช้ครีมกันแดดที่มีส่วนผสมของสารกรองรังสียูวีชนิดฟิสิคอล คือ ไทเทเนี่ยม ไดออกไซด์ซึ่งจะปลอดภัยและไม่ทำให้เกิดอาการแพ้หรือระคายเคืองต่อผิวหนัง
แล้ว

(หมายเหตุ SPF หรือ Sun Protection Factor ค่านี้คือ ค่าการปกป้องผิวจากแสงแดด ยิ่งมากเท่าไหร่ยิ่งป้องกันแสงได้มากเท่านั้น)

นอกจากนี้ นพ.จิโรจน์ สินธวานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการทาครีมกัีนแดด ไว้ว่า ควรจะทาครีมกันแดดทุก ชั่วโมง หรือหากไม่สามารถทำได้ก็ควรทาเช้า เที่ยง แต่จะดีมากหากได้ทาตอนเย็นด้วย 

นอกจากนี้ เพื่อป้องกันอันตรายจากรังสีดวงอาทิตย์ ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสแสงแดดจ้าโดยตรงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระหว่างเวลา 10 โมงเช้าถึง บ่าย 4 โมงเย็นซึ่งมีรังสียูวีมาก (สูงสุดช่วงเที่ยงถึงบ่ายโมง) การหลบแดดใต้ต้นไม้ใหญ่ การถือร่มบังแดด การใส่เสื้อผ้าแขนยาวกางเกงขายาว การใส่แว่นกันแดดชนิดกรองรังสียูวี รวมถึงการเลือกใช้ครีมกันแดดเป็นประจำอย่างน้อยมีค่า SPF 15 หรือสูงกว่า และควรเลือกครีมกันแดดที่สามารถกรองรังสีทั้งชนิดยูวีเอและยูวีบีได้ด้วยจึงจะปลอดภัย 
Thank;
C;
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (http://www.pharmacy.mahidol.ac.th)
สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย (http://www.dst.or.th)
P;http://ascannotdo.wordpress.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น