เว็บหนัง พร้อมสาระและความบันเทิงครบครัน
เว็บที่ให้ได้ มากกว่าที่คุณคิด
เว็บอาจโดนบล็อค โปรดกด Like Fanpage เพื่อติดตามที่อยู่เว็บ
ขณะนี้เว็บกำลังปรับปรุง ขออภัยท่านผู้เข้าชม ในความไม่เป็นระเบียบของรูปแบบเว็บด้วยนะคะ ^ ^

ค้นหาส่ิ่งที่คุณสนใจได้เลยจ้า

เพลงแนะนำ ตามกระแส


วันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ยาลดความดันโลหิต ->ผู้ต้องสงสัยที่ก่ออาการบวมที่เท้า จริงหรือ??


สวัสดีครับ รบกวนขอถามอาการของพ่อหน่อยครับ ตอนนี้พ่ออายุย่างเข้า 60 เป็นความดันสูง แต่มีการหาหมออยู่เรื่อย ๆ มีอาการดังนี้ครับ 1.ช่วงตาตุ่ม หลังเท้าบวม แต่ไม่เจ็บ 2. เท้าจะบวมทั้ง 2 ข้าง เท่ากัน ไม่ขึ้นมาถึงหน้าแข้ง 3. จะบวม ตอนตกเย็น เอ..อาการบวมที่เท้าของพ่อหนูเกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้างครับ ??? ลองติดตามดูซิว่าอาการบวมที่เท้าเกิดได้จากสาเหตุใดได้บ้างนะ ด้านในเลยจ้า ^ ^







มีสาเหตุบ้าง ??? ที่ทำให้เกิดอาการบวมที่เท้าได้

คนที่มีอาการบวมที่เท้าทั้ง 2 ข้างนั้น มีสาเหตุจากโรคได้หลาย ๆ ชนิด แต่ที่สำคัญ เช่น
1.โรคไต พวกนี้มักจะมีอาการบวมที่หน้า และอาจมีอาการ บวมที่ท้อง หรือท้องมาน ร่วมด้วย ถ้าพบหลังเป็นไข้-เจ็บคอ มักจะมีปัสสาวะเป็นสีน้ำหมาก หรือน้ำล้างเนื้อให้เห็น แต่ถ้าปัสสาวะสีใสเป็นปกติ อาจเป็นโรคไตพิการที่เกิดโดยไม่ทราบสาเหตุ
2.โรคตับ เช่น ตับแข็ง หรือ มะเร็งในตับ มักมีอาการ ดีซ่าน (ตาเหลือง) และ ท้องมาน ร่วมด้วย
3.โรคหัวใจ พวกที่เป็นลิ้นหัวใจรั่วจากไข้รูมาติค ซึ่งเกิดจากอาการไข้-เจ็บคอหรือต่อมทอนซิลอักเสบ เป็นเหตุชักนำแต่เบื้องแรก หรือมีภาวะหัวใจวาย
4.โรคขาดอาหาร เช่น ขาดอาหารโปรตีน น้ำจึงซึมออกจาหลอดเลือดได้ง่าย
5.ผู้สูงอายุ การไหลเวียนโลหิตไม่ดีตามอายุ จึงมีน้ำคั่งบริเวณเท้าได้
6.ในหญิงตั้งท้อง อาจพบว่ามีอาการบวมได้ในระยะท้องแก่ตั้งแต่ 7,8 เดือนขึ้นไป
7.ยา เช่น    
  • ยาลดความดันโลหิต เช่น amlodipine 
  • ยารักษาเบาหวาน 
  • ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs
คำถามที่มักพบคือ amlodipine ทำให้เกิดอาการเท้าบวมได้อย่างไร


Amlodipine เป็นยาลดความดันโลหิตกลุ่ม Calcium channel blocker (CCB) โดยยากลุ่ม CCB เกี่ยวข้องกับอาการบวม โดยสาเหตุเกิดจากการลดแรงต้านทานที่หลอดเลือดแดง arteriole คือทำให้หลอดเลือดแดงขยาย ส่วนหลอดเลือดดำ(venous) ไม่ขยายตาม เกิดความไม่สมดุล เพิ่มความดันของหลอดเลือดฝอย (capillary pressure) ส่งผลให้สุดท้ายมีผลให้ของเหลวในเส้นเลือดไหลออกมานอกเส้นเลือดเกิดอาการบวม และโดยตัวคุณสมบัติของยา CCB จะเป็น natriuretic (ซึ่งเป็นสารที่ลดการดูดกลับของเกลือที่ท่อไต ทำให้เกิดการขับออกของเกลือทางปัสสาวะมากขึ้น)ซึ่งอาจเป็นกลไกที่หักล้างสาเหตุของการเกิดอาการบวมจากกลไกที่ว่ายาทำให้เกิดการคั่งของเกลือ 


โดยอาการบวมมักพบในเพศหญิงและการอยู่ในท่ายืน อายุ(สูงอายุพบอุบัติการณ์มากกว่า) และขนาดยา CCB (ยิ่งขนาดยาสูง มีอุบัติการณ์ทำให้อาการบวมได้มากขึ้น) การเลือกชนิดของ CCB โดยอาการบวมจะมักจะเกิดทั้ง 2 ข้างของร่างกาย เช่น ขา 2 ข้าง เป็นต้น 


นอกจาก CCB แล้วยาอื่นยังเป็นสาเหตุให้เกิดอาการบวมได้ เช่น 

1.NSAIDs เช่น celecoxib 

2.ยารักษาเบาหวาน ยากลุ่ม thiazolidinediones เช่น pioglitazone (ACTOS®)

3.ยากลุ่ม nonspecific vasodilators เช่น hydralazine และ minoxidil ในขนาดสูง โดยเป็นผลมาจากยาทำให้เกิดการคั่งของเกลือโซเดียม (sodium retention) 

4.ß blockers (ขนาดสูง)

5.central agonists (ขนาดสูง)

6.peripheral blockers (ขนาดสูง)

7.ACEI และ ARBs พบว่าทำให้เกิดอาการบวมได้น้อย (rarely)



ถามว่ากิน amlodipine นานเท่าไร จึงจะเกิดอาการเท้าบวม



จากการตอบคำถามของเภสัชกร จิตติมา เอกตระกูลชัย ซึ่งได้มีการตอบคำถามในเรื่องนี้ (โดยอ้างอิงข้อมูลจาก MICROMEDEX® Healthcare Series http://www.thomsonhc.com) ได้กล่าวไว้ว่า “onset ของการเกิดอาการบวม พบว่ามีหลายการศึกษาระบุระยะเวลาการเกิด edema อยู่ในช่วงประมาณ 8 - 12 สัปดาห์ “









การแก้ไขอาการบวมจากยากลุ่ม CCB คือ 
1.เปลี่ยนยา
2.ลดขนาดยา
3.เพิ่ม venodilator เช่น nitrate, ACEI,ARB ร่วมกับการใช้ CCB ขนาดต่ำ ดูเหมือนจะดีต่อการรักษาภาวะความดันโลหิตสูงและทำให้เกิดอาการบวมได้น้อยกว่าการใช้ CCB ในขนาดสูงเพียงอย่างเดียว
ด้วยกลไกที่ทำให้เกิดสมดุลของการขยายของหลอดเลือดแดงและหลอดเลืิอดดำ







graduated compression stocking (ถุงน่องยาว)



4.การจำกัดเวลาในการยืน

5.ใช้ graduated compression stocking (ถุงน่องยาว) 

6.การใช้ diuretic (ยาขับปัสสาวะ) อาจช่วยลดอาการบวมได้บ้าง แต่ก็ไม่ได้เป็นการรักษาที่ต้นตอที่แท้จริง
7.มีการศึกษาที่พบว่า

  • lercanidipine และ lacidipine มีผลให้เกิดการบวมน้อยกว่า amlodipine และ nifedipine
  • Manidipine เป็นยาในกลุ่ม CCB ตัวเดียวที่มีฤทธิ์ขยาย post-capillary arteriole ทำให้มีผลข้างเคียงเรื่องอาการบวมน้อย 
  • อาการบวมที่ข้อเท้า (Ankle oedema) จากยากลุ่ม CCB มักพบบ่อยในกลุ่มยา Dihydropyridine CCB (DHP CCB) ส่วน Diltiazem เป็นยากลุ่ม non-dihydropyridine CCB (non-DHP CCB) ซึ่งดูเหมือนว่าจะพบอุบัติการณ์ทำให้เกิดข้อเท้า (ankle oedema)บวมน้อย 

ดังนั้น การพิจารณาว่าผู้ป่วยเกิดอาการบวมจากสาเหตุใด อาจต้องพิจารณาหลายอย่างประกอบกัน หากท่านพบอาการเท้าบวม ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุต่อไป 

หมายเหตุ เนื้อหานี้ได้จากการสืบค้นจากหลายแหล่งข้อมูล ท่านควรศึกษาจากแหล่งข้อมูลที่มีการอ้่างอิงด้านล่างรวมทั้งแหล่งข้อมูลอื่นร่วมด้วย เพื่อประโยชน์ต่อท่านผู้อ่านมากยิ่งขึ้น


Reference:

1 ความคิดเห็น:

  1. avanafil 100 mg is FDA affirmed medication to treat erectile dysfunction in men. Delivered in 2012, this effective pill is the most recent treatment for erectile dysfunction. Avana can begin working in only 15 minutes and keeps going as long as 6 hours. Clinical preliminaries show Havana is powerful for most men, regardless of how long the patient has had erectile dysfunction issues.

    ตอบลบ