เว็บหนัง พร้อมสาระและความบันเทิงครบครัน
เว็บที่ให้ได้ มากกว่าที่คุณคิด
เว็บอาจโดนบล็อค โปรดกด Like Fanpage เพื่อติดตามที่อยู่เว็บ
ขณะนี้เว็บกำลังปรับปรุง ขออภัยท่านผู้เข้าชม ในความไม่เป็นระเบียบของรูปแบบเว็บด้วยนะคะ ^ ^

ค้นหาส่ิ่งที่คุณสนใจได้เลยจ้า

เพลงแนะนำ ตามกระแส


วันอาทิตย์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2555

HOW TO USE DRUG SAFETY? (ใช้ยาอย่างไรให้ปลอดภัย)


ท่่านเคยสงสัยไหมว่า ยาที่ท่านได้รับจากโรงพยาบาล คลินิก ร้านยานั้นมีข้อควรระวังในการใช้อย่างไรบ้าง และหากท่านไม่สามารถกลืน กินยาได้ทั้งเม็ด      ท่านสามารถบดหรือแบ่งยานั้นเพื่อรับประทานได้หรือไม่ เพราะยาบางชนิดห้ามแบ่งหรือบด เนื่องจากการแบ่งหรือบด อาจทำให้การออกฤทธิ์ของยาเปลี่ยนแปลง  เช่น ทำให้เกิดพิษจากยาได้ ลองมาอ่านบทความนี้กันค่ะ เพื่อท่านจะได้ใช้ยาได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย



                                              

คำแนะนำพิเศษในการใช้ยา

1กินยานี้แล้วอาจทำให้ง่วงนอน จึงไม่ควรขับขี่ยานยนต์หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร  หลีกเลี่ยงการดื่มเหล้าหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
การที่ห้ามไม่ให้ผู้ใช้ยาขับรถหรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล เพราะผลที่ยากดระบบประสาทนั้นทำให้การเคลื่อนไหวของร่างกายช้ากว่าปกติและไม่มีสมาธิในการทำงาน ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย และยังมีอาการข้างเคียงอีกหลายประการที่ไม่สัมพันธ์กับการง่วงซึม แต่มีผลต่อความสามารถในการขับรถและการทำงานกับเครื่องจักกลของผู้ป่วย เช่น ตาพร่า ซึม และคลื่นไส้ แต่โดยทั่วไปแล้วไม่จำเป็นต้องทำฉลากเสริมเตือนเรื่องนี้ แต่ควรให้คำปรึกษาผู้ป่วยเป็นรายๆ ตามความเหมาะสม

ส่วนการที่ห้ามไม่ให้ผู้ใช้ยาดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของแอลกอฮอล์นั้น เนื่องจากแอลกอฮอล์เสริมฤทธิ์การกดประสาท 
ได้แก่ 
1.ยากลุ่ม antihistamine ได้แก่ chlorpheniramine,dimenhydrinate,diphenhydramine, hydroxyzine
2.ยากลุ่ม sedatives ได้แก่ alprazolam,diazepam,haloperidol,lorazepam,chlordiazepoxide, clonazepam
3.ยากลุ่ม antidepressants ได้แก่ amitriptyline,imipramine,nortryptyline,mianserin
4.ยากลุ่ม anticonvulsants ได้แก่ carbamazepine, phenobarbital
5.ยากลุ่ม analgesics ได้แก่ morphine
6.ยากลุ่มอื่นๆ ได้แก่ baclofen,cinnarizine,methyldopa,orphenadrine 

2. ยานี้อาจทำให้คงง่วงชึมในวันถัดไปหลังจากกินยา ดังนั้น จึงไม่ควรขับขี่ยานยนต์หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล และห้ามดื่มเหล้า หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
ได้แก่ ยานอนหลับ ซึ่งแพทย์สั่งจ่ายให้กินตอนกลางคืนก่อนนอน เช่น lorazepam 


3. กินยานี้แล้ว ห้ามดื่มเหล้าหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
ได้แก่ ยาเบาหวานชนิดรับประทานกลุ่ม sulfonylurea ,metronidazole เนื่องจากจะทำให้เกิดได้แก่ หน้าแดง อาเจียน หายใจถี่ขึ้นและหัวใจเต้นเร็วขึ้น เมื่อกินร่วมกับแอลกอฮอล์

4.ไม่ควรกินยาเหล่านี้ร่วมกับยาลดกรด
เหตุผลของการไม่ควรกินร่วมกับยาลดกรดเพราะ
1.ยาที่มีการดูดซึมของยาจะลดลงเมื่อใช้ยาเหล่านี้ร่วมกับยาลดกรด ถ้าจำเป็นต้องให้ร่วมกัน ควรให้ห่างกันอย่างน้อย 2-4 ชั่วโมง ได้แก่ azithromycin, gabapentin, itraconazole, ketoconazole, sucralfate
2.ตำรับที่มีการเคลือบเพื่อป้องกันกรดในกระเพาะอาหาร เช่น ที่อยู่ในรูปแบบของ enteric-coated tablet เพราะการกินยาลดกรด (antacid) จะทำให้ pH ของกระเพาะอาหารมีสภาพเป็นด่าง ซึ่งอาจทำให้ยาแตกตัวในกระเพาะอาหารแทนที่จะแตกตัวในลำไส้อย่างที่ต้องการ ได้แก่ aspent®, bisacodyl, diclofenac (voltaren® ), erythromycin base, estrogen(conjugated), lansoprazole, omeprazole, sodium valproate, sulfasalazine

5. ไม่ควรกินยานี้พร้อมนม ผลิตภัณฑ์จากนม   ยาลดกรด และยาที่มีธาตุเหล็ก
ได้แก่ ยาปฏิชีวนะกลุ่ม tetracyclines เนื่องจากยาเหล่านี้สามารถ chelate กับ metal ion เช่น เหล็ก แคลเซียม และแมกนีเซียมที่มีในนม ยาลดกรด หรือตำรับยาที่มีธาตุเหล็ก เกิดเป็นสารประกอบเชิงซ้อน ทำให้ยาเหล่านี้ดูดซึมในทางเดินอาหารได้ยากขึ้น แต่ในกรณีที่จำเป็นต้องใช้ยาเหล่านี้ร่วมกับนม ยาลดกรด หรือธาตุเหล็ก ควรให้ห่างกันประมาณ 2 ชั่วโมง   ยกเว้น ยา Doxycycline สามารถใช้ยาพร้อมนมได้ เพราะ doxycycline มี affinity ต่อแคลเซียมน้อยที่สุด (เมื่อเปรียบเทียบกับ tetracycline อื่นๆ) แต่ยังคงห้ามใช้ยาเหล่านี้ร่วมกับธาตุเหล็ก และยาลดกรดที่มี metal ion เป็นส่วนประกอบ

6. ไม่ควรกินยานี้พร้อมยาลดกรด หรือยาที่มีธาตุเหล็ก
ได้แก่ cefdinir, ciprofloxacin, norfloxacin, ofloxacin, doxycycline เพราะยาเหล่านี้จะเกิด chelate กับเหล็กซึ่งมีในตำรับยาที่มีธาตุเหล็ก และแมกนีเซียม หรืออลูมิเนียมที่มีในยาลดกรด จะเกิดเป็นสารประกอบเชิงซ้อน ทำให้ยาเหล่านี้ดูดซึมในทางเดินอาหารยากขึ้น แต่ในกรณีที่จำเป็นต้องให้ยาเหล่านี้ร่วมกับยาลดกรดหรือธาตุเหล็ก ควรให้กินห่างกันประมาณ 2 ชั่วโมง

7.กินยาติดต่อกันทุกวันจนยาหมด
ได้แก่ ยาต้านจุลชีพทุกชนิด ทั้งยาต้านเชื้อแบคทีเรีย ยาต้านเชื้อไวรัส และยาต้านเชื้อรา เพราะถ้าเลิกใช้ยาเมื่ออาการหาย แต่เชื้อโรคยังไม่ตาย โดยเพียงหยุดเจริญเติบโตชั่วคราว หรือถูกฆ่าเพียงบางส่วน จะทำให้กลับเป็นโรคนั้นใหม่ และอาจใช้ยาชนิดเดิมรักษาไม่ได้ผล

8.เมื่อใช้ยานี้แล้วควรหลีกเลี่ยงไม่ให้ผิวสัมผัสแสงแดดหรือแสงอัลตราไวโอเลต
ได้แก่ amiodarone, chlorpromazine, doxycycline, griseofulvin, nalidixic acid, ofloxacin เนื่องจากอาจทำให้เกิด phototoxic หรือ photoallergic เมื่อผู้ใช้ยาสัมผัสกับแสงที่มีรังสีอัลตราไวโอเลต เช่น แสงแดด แต่จะเกิดกับผู้ป่วยบางคนเท่านั้น

9. กินยานี้แล้วปัสสาวะหรืออุจจาระอาจมีสี............
   ยาทำให้       -ปัสสาวะมีสีแดง ได้แก่  Levodopa
   -ปัสสาวะมีสีส้ม-แดงได้แก่ Rifampicin, Phenazopyridine
                       -ปัสสาวะมีสีเหลืองเข้ม ได้แก่ Vitamin B
                       -อุจจาระหรือปัสสาวะอาจเป็นสีดำ ได้แก่  Ferrous
                       -อุจจาระเป็นสีดำ ได้แก่ Activated charcoal

10. กินยาพร้อมอาหารหรือหลังอาหารทันที ได้แก่ 
-ยากลุ่ม corticosteroids เช่น dexamethasone, prednisolone
-ยากลุ่ม salicylates และ NSAIDs เช่น aspirin, diclofenac, ibuprofen, indomethacin, mefenamic acid, naproxen, piroxicam
-ยากลุ่ม xanthine derivatives เช่น aminophylline, theophylline
-ยาอื่นๆ ได้แก่ allopurinol, cefuroxime, ferrous salt, griseofulvin, itraconazole, ketoconazole, ketotifen, levodopa, lithium, metformin, metronidazole, nifedipine, phenytion, potassium chloride 
เพราะยาที่ทำให้ระคายเคืองกระเพาะและทำให้คลื่นไส้ อาเจียน หรือยานั้นจะถูกดูดซึมได้ดี เมื่อมีอาหารในกระเพาะ ในกรณีที่กินอาหารไม่ครบทุกมื้อ ก็ต้องกินยาด้วยโดยให้กินอาหารอะไรก็ได้สักเล็กน้อย เพื่อให้มีอาหารอยู่ในกระเพาะ แล้วจึงกินยายาเหล่านี้       ถ้ากินในขณะท้องว่างอาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียนและทำให้เกิดเลือดออกในกระเพาะได้ การระคายเคืองกระเพาะอาหารของยาบางชนิดจะลดลงได้เมื่อกินหลังอาหารทันที การที่มีอาหารในทางเดินอาหารส่วนต้นจะลดอัตราการดูดซึมของยาบางชนิด แต่การที่    ผู้ป่วยกินยาแล้วเกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียนมากจะทำให้ผู้ป่วยไม่ยอมกินยา และยาที่กินเข้าไปอาจจะออกมากับเศษอาหารที่อาเจียนทำให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี ดังนั้นในบางโอกาสควรกินยานั้นพร้อมอาหาร ทั้งที่การดูดซึมไม่ดีนักก็ตาม

11. หลังรับประทานยาควรอยู่ในท่านั่งหรือยืน ห้ามผู้ป่วยนอนราบภายในระยะเวลา 30-60 นาทีหลังรับประทานยา
ได้แก่ Risendronate sodium (Actonel® ), Alendronate sodium/Colecalciferol (Fosamax plus® ), Ibandronic acid (Bonviva® ) โดยต้องกลืนยาทั้งเม็ดโดยไม่ดูดหรือเคี้ยวเม็ดยา เพื่อให้เม็ดยาไปสู่กระเพาะอาหารได้สะดวก ควรรับประทานพร้อมน้ำเปล่า (180-240 ml) ในท่านั่งหรือยืน ห้ามผู้ป่วยนอนราบภายในระยะเวลา 30-60 นาทีหลังรับประทานยา เพราะเกี่ยวข้องกับการเกิดหลอดอาหารอักเสบและแผลในกระเพาะอาหาร 
นอกจากนี้ยาบางชนิด ไม่ควรหักเม็ดยาหรือบด/เคี้ยว เนื่องจากจะทำให้การออกฤทธิ์ของยาเปลี่ยนแปลงไปหรือทำให้เกิดพิษของยาได้ ตัวอย่างรายการยาที่ห้ามแบ่งครึ่ง  ห้ามบด  ห้ามเคี้ยว หรือทำให้เม็ดยาแตก ดังตาราง

ตัวอย่างรายการยาที่ห้ามแบ่งครึ่ง  ห้ามบด  ห้ามเคี้ยว หรือทำให้เม็ดยาแตก 

ชื่อสามัญทางยา
ห้ามบด/ห้ามเคี้ยว
ห้ามแบ่งครึ่ง
เหตุผล
Nifedipine  cap
/
/
soft-gelatin cap สามารถเปิด/เจาะแคปซูลเอาตัวยามาใช้ได้
Potassium chloride tab
/
/
sustained-release tablet
Aspirin enteric coat tab
/
/
enteric-coatd tablet ยกเว้นให้เคี้ยว tx. acute MI
Amoxicillin+clavulanate tab
/
/
ยามีคุณสมบัติชื้นง่าย ถ้าแบ่งหรือบดยาจะเหนียว
Bisacodyl tab
/
/
enteric-coatd tablet ถ้าจำเป็นทำได้แต่ระวัง GI irritate
Hyoscine-n-butylbromide
/
/
film-coated tab เพื่อป้องกันการระคายเคืองกระเพาะอาหาร
Serratio peptidase tab
/
/
ถ้าจำเป็นทำได้แต่ให้ระวัง GI irritate
Sodium valproate CR tab
/
/
slow-release scored film-coated tablet
ถ้าจำเป็นแบ่งครึ่งได้แต่ให้ระวัง GI irritate
Gliclazide MR tab
/
/
modified-release tablet
Phenytoin cap
/
/
extended-release capsule
Venlafaxine tab
/
-
extended-release capsule
Enalapril tab
/
/
ถ้าจำเป็นแบ่งครึ่งได้แต่ให้ระวังยาชื้นง่าย ถ้าแบ่งหรือบดยาจะเหนียว
Cyclophosphamide tab
/
/
sugar-coated tab เป็นยาเคมีบำบัดควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสยาถ้าจำเป็นควรมีอุปกรณ์ป้องกัน
ditiazem  SR cap
/
/
sustained-release capsule
Isosorbide dinitrate sublingual 5 mg
/
/
เป็นยาอมใต้ลิ้นไม่ควรเคี้ยวหรือบดเม็ดยา
Isosorbide mononitrate 20 mg tab
/
/

levodopa + carbidopa  tab
/
-

Omeprazole cap
/
/
enteric coated pellet(ตัวยาถูกกรดทำลายได้สูง)แกะแคปซูลได้
Indapamide SR tab
/
/
sustained-release tablet
Esomeprazole tab
/
-
enteric coated pelletยากระจายในน้ำได้เองไม่ต้องบด
Orphenadrine tab
/
/
slowed-release tablet
Lanzoprazole  tab
/
-
enteric coated microgranule
Sulfasalazine tab
/
/
enteric-coated tablet  ถ้าจำเป็นทำได้แต่ระวัง GI irritate
Itraconazole capsule
/
/
granule ( ยาไม่ละลายในน้ำมีความเป็น lipophyllic สูง )
Theophylline SR tab
/
-
sustained-release tablet
Trimetazidine  MR tab
/
/
modified-release film-coated tablet
Diclofenac  sodium  tab
/
/
enteric-coated tablet  ถ้าจำเป็นทำได้แต่ระวัง GI irritate
Alfuzosin  XL tab
/
/
prolonged-release tablet

ขอขอบคุณที่มา : 
  1. ธิดา นิงสานนท์และคณะ. คู่มือการใช้ยาสำหรับบุคลากรสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพมหานคร. บริษัทประชาชน จำกัด. 2549. หน้า 155-169.
  2. ธิดา นิงสานนท์และคณะ. การบริหารยาเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพมหานคร. หจก พิฆณี. 2552. หน้า 97-107.
  3. Lacy CF, Armstrong LL, Goldman MP, Lance LL, et al. Drug  information hand book, 17th ed. Ohio: Lexi-Comp, Inc; 2008-2009.
  4. UpToDate Editorial Staff. (Drug information). UpToDate, Inc. Waltham. Up to date version 17.1, 2009. 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น