เว็บหนัง พร้อมสาระและความบันเทิงครบครัน
เว็บที่ให้ได้ มากกว่าที่คุณคิด
เว็บอาจโดนบล็อค โปรดกด Like Fanpage เพื่อติดตามที่อยู่เว็บ
ขณะนี้เว็บกำลังปรับปรุง ขออภัยท่านผู้เข้าชม ในความไม่เป็นระเบียบของรูปแบบเว็บด้วยนะคะ ^ ^

ค้นหาส่ิ่งที่คุณสนใจได้เลยจ้า

เพลงแนะนำ ตามกระแส


วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555

Sclerosis (โรคหนังแข็ง)


โรคหนังแข็ง เป็นโรคภูมิแพ้ตัวเอง (autoimmune) และเป็นโรคในระบบเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่ไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งผลจากการอักเสบ (การอักเสบมักมีความเกี่ยวข้องกับ autoimmune disease)ทำให้มีการสร้างใยคอลลาเจน (collagen)ในเนื่อเยื่อต่าง ๆ เพิ่มขึ้นมากกว่าปกติ ทำให้เกิดเนื้อเยื่อพังผืด (fibrosis) แทรกอยู่ในอวัยวะต่าง ๆ โดยจะแทรกในผิวหนัง อวัยวะภายใน และหลอดเลือด   
การดำเนินของโรค แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่
1.    ระยะแรก เรียกว่า edematous phase ผิวหนังจะมีสีแดงและมีอาการบวมตึงตามมือ (puffy hand)  และแขนขา อาการบวมตึงอาจลุกลามขึ้นไปถึงลำคอและใบหน้า ทำให้ริ้วรอยเหี่ยวย่นบนใบหน้าหายไปและผิวหนังเป็นร่องรอบริมฝีปาก 


2.ระยะผิวหนังแข็ง เรียกว่า indurative phase อาการบวมจะลดลง แต่จะมีผิวหนังแข็งตึงและสีคล้ำขึ้นอย่างชัดเจน บางคนเกิดมีสีผิวกระด่างกระดำ เรียกว่า salt and pepper skin นิ้วมือมีลักษณะซีดเขียวง่ายเมื่อสัมผัสความเย็น (Raynaud’s phenomenon)  บางคนมีผิวหนังบริเวณปลายนิ้วเป็นหลุมเรียกว่า digital pitting scar  หากนิ้วมือซีดเขียวมากอาจเกิดเนื้อเยื่อตาย (gangrene)  หรือเป็นแผลเล็กๆ (ischemic ulcer) ที่ปลายนิ้ว  บางคนผิวหนังตึงแข็งมากทำให้รัดข้อนิ้วมือจนเกิดการงอผิดรูป (flexion contracture)  และทำให้กระดูกปลายนิ้วและนิ้วมือหดสั้นลง







 3.ระยะที่มีการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังระยะสุดท้าย เรียกว่า atrophic phase  ผิวหนังจะรัดติดกับกล้ามเนื้อและกระดูกทำให้ไม่สามารถหยิบจับผิวหนังขึ้นได้ บางคนผิวบางมากและแห้งเกิดเป็นแผลแตกง่าย   โดยเฉพาะผิวหนังบริเวณเหนือ   ปุ่มกระดูกต่างๆ เช่น ข้อศอก ตาตุ่ม เป็นต้น 

โรคผิวหนังแข็งเป็นที่หายเองได้ และบางรายผิวหนังจะหายเป็นปกติได้โดยเฉพาะรายที่มีการดำเนินของโรคช้าและไม่มีพยาธิสภาพของอวัยวะภายใน ผิวที่แข็งตึงจะเริ่มอ่อนตัวและหายเป็นปกติ จุดประขาวจะจางลงแต่บางรายอาจเห็นเป็นร่อยรอยของโรคผิวแข็งตกค้างให้เห็นได้อยู่บริเวณนิ้วมือและใบหน้า แต่สำหรับผู้ป่วยที่มีการดำเนินโรคเร็วมักจะมีพยากรณ์โรคไม่ดี มักจะมีพยาธิสภาพของอวัยวะภายในร่วมด้วยบ่อย โดยเฉพาะการเกิดพังผืดที่ปอด (pulmonary fibrosis)พังผืดในกล้ามเนื้อหัวใจ (myocardial fibrosis) และพังผืดที่ลำไส้ ผู้ป่วยอาจเสียชีวิตจากอาการทางปอด หัวใจ ไต ซึ่งมักจะเกิดขึ้นภายใน 1-2 ปีแรกหลังจากที่เริ่มมีอาการ
อาการและความผิดปกติของระบบอื่น ๆ
-ปวดข้อ ข้ออักเสบ มักจะเกิดกับข้อนิ้วมือ และมักเป็นทั้ง 2 ข้าง
-ปวดกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อไม่มีแรง มักเกิดกับกล้ามเนื้อบริเวณต้นแขนและต้นขา สาเหตุเนื่องมาจากการเกิดพังผืด
แทรกในกล้ามเนื้อหรือกล้ามเนื้ออักเสบ (myositis)
-ก้อนหินปูนใต้ชั้นผิวหนัง (calcinosis cutis) 

-กลืนลำบาก (dysphagia) เรอ แสบร้อนบริเวณใต้ชายโครงหรือหน้าอกจากรอยโรคที่หลอดอาหาร และการไหลย้อนระหว่างกระเพาะอาหารและหลอดอาหาร (gastroesophageal reflux) เนื่องจากเกิดพังผืดในทางเดินอาหาร
-ท้องอืด แน่นท้อง อิ่มเร็ว จากการเคลื่อนตัวของกระเพาะอาหารและลำไส้ลดลง  ท้องผูกจากลำไส้บีบตัวช้าลง เนื่องจากเกิดพังผืดในทางเดินอาหาร
-ท้องเสีย
 -ไอ เหนื่อยง่าย จากภาวะปอดอักเสบหรือปอดมีพังผืด หรือความดันหลอดเลือดแดงในปอดสูง 


-ปัสสาวะออกน้อย บวมกดบุ๋ม  ความดันโลหิตสูงจากพยาธิสภาพที่ไต ไตวาย
-พบร่วมกับกลุ่มอาการโจเกรน (Sjögren’s syndrome) ได้แก่ ริมฝีปากแห้ง ฟันผุ ลิ้นแห้งแตก น้ำลายเหนียว จากต่อมน้ำลายทำงานลดลง
-หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจโต หัวใจล้มเหลว
การรักษา
ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาที่ได้รับการพิสูจน์ว่าสามารถหยุดการดำเนินโรคได้ แม้ว่าจะมีการพัฒนายาที่ใช้ในการยับยั้งการเกิดพังผืดในเนื้อเยื่อต่างๆรวมทั้งผิวหนัง แต่ผลการรักษายังไม่ดีเท่าที่ควร  การรักษาจึงเน้นการรักษาตามอาการและประคับประคอง จนกว่าโรคจะเข้าสู่ระยะสงบหรือหายได้เอง และเฝ้าระวังติดตามการเกิดพยาธิสภาพที่อวัยวะภายในรวมทั้งภาวะแทรกซ้อนจากการรักษา
คำแนะนำผู้ป่วย
1.ให้ผู้ป่วยมีความรู้เกี่ยวกับโรคที่เป็นอยู่และเฝ้าระวังพยาธิสภาพที่จะเกิดกับอวัยวะภายใน
2.คำแนะนำการปฏิบัติตัว เช่น
·   ประคบอุ่น สวมถุงมือผ้าเพื่อเลี่ยงอากาศเย็น
·    อาบน้ำอุ่นพอสบายแต่ต้องไม่ร้อนจัด ใช้สบู่อ่อนและถูร่างกายเบาๆเพื่อป้องกันไม่ให้ผิวแห้งแตก และควรใช้ครีมหรือโลชั่นทาผิวเพื่อไม่ให้ผิวแห้งจนเกินไป

·       หมั่นทำกายภาพบำบัดด้วยตนเองโดยเฉพาะบริเวณข้อมือ ข้อต่อขากรรไกร เพื่อไม่ให้ข้อติด โดยอาจประคบอุ่นบริเวณข้อที่ปวดตึงก่อนทำการบริหาร
·       เลี่ยงการทำงานที่ต้องเสี่ยงต่อการเกิดแผลบริเวณปลายนิ้วมือ และตามปุ่มกระดูก เนื่องจากอาจทำให้แผลหายช้าและติดเชื้อง่าย หากมีแผลที่ปลายนิ้วมือหรือที่ปุ่มกระดูก หรือมีเนื้อตายที่ไม่อาจกลับสู่สภาพปกติภายหลังจากที่ทำให้อุ่นแล้วควรรีบปรึกษาแพทย์ และห้ามแกะหรือตัดตุ่มหินปูนใต้ผิวหนัง
·      งดสูบบุหรี่ และเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับคนที่สูบบุหรี่ เนื่องจากมีโอกาสทำให้เกิดพังผืดที่ปอดเพิ่มขึ้น
·       ดูแลสุขภาพในช่องปากและฟันอย่างสม่ำเสมอ  และตรวจสุขภาพช่องปากเป็นระยะ
·       ควรรับประทานอาหารครั้งละน้อยๆ แต่รับประทานหลายครั้งต่อวัน ควรเคี้ยวให้ละเอียดก่อนกลืน และควรนั่งพักหลังจากรับประทานอาหารเสร็จอย่างน้อย 3 ชั่วโมง ไม่ควรนอนทันที เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดภาวะกรดไหลย้อน

·   หมั่นตรวจวัดความดันโลหิตอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง หากพบว่าความดันโลหิตสูงผิดปกติควรรีบปรึกษาแพทย์



การรักษาด้วยยา
ตาราง แสดงการรักษาโรคหนังแข็ง 










ขอขอบคุณแหล่งที่มา :
http://www.smj.ejnal.com/e-journal/showdetail/?show_detail=T&art_id=1672
http://med.md.kku.ac.th/site_data/mykku_med/701000019/Rheumatology/Sclerderma%20CPG.pdf
http://med.md.kku.ac.th/site_data/mykku_med/701000019/Public/SSC_daily_living.pdf

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น